หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ในโรงงาน หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก
การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม
ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนสูงขึ้นและงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้
ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก
หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัด
ระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับเก็บกู้ระเบิด หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ
ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว
และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN
(Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ
ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม
เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง
สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล
อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้
(Force Sensor)
อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง
3 มิติ
อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ
เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
อุปกรณ์ x-ray
อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น
คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้
ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน
สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ
หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว
และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ
ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ
13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000
บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว
และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด
กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป
หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์
อาซิโม (Ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยนด์ (Humanoid) หรือหุ่นยนต์ที่เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทฮอนด้า
ประเทศญี่ปุ่น โดยฮอนด้า (Honda) ได้มีโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์
(Humanoid) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529)
โดยเริ่มจากหุ่นยนต์ต้นแบบ E0-E6 ในปี ค.ศ.1986-1993
(พ.ศ.2529-2336) และ P1-P3 ในปี ค.ศ.1993-1997 (พ.ศ.2536-2540) จนกระทั่งสร้างหุ่นยนต์อาซิโม (Ashimo) สำเร็จขึ้นในวันที่
31 ตุลาคม ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และมีอาซิโมเวอร์ชันใหม่ในปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554)
ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า
รวมไปถึงความสามารถในการวิ่งของ อาซิโมรุ่นใหม่นี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วมากถึง
9 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน
ต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถวิ่งได้เพียง 6 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น และยังมีน้ำหนักน้อยลงเหลือ 48 กิโลกรัมเท่านั้น
(รุ่นก่อนหน้าหนัก 54 กิโลกรัมต่างกันถึง 6 กิโลกรัม) มีความสูง 130 เซนติเมตร
ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะพอดีกับการทำงานในบ้านและในออฟฟิศเป็นอย่างมาก
ความสามารถของอาซิโม (Ashimo)
น่าทึ่งครับ
กว่าจะมาเป็นอาซิโมอย่างทุกวันนี้ได้
ทีมวิจัยและพัฒนาได้ศึกษาการเคลื่อนที่และท่าทางของมนุษย์อย่างมากมาย
ทำให้อาซิโมมีความสามารถต่าง ๆ ที่หลากหลาาย เช่น
1. การเดิน การเลี้ยว การเดินนั้นอาซิโมสามารถเดินได้ด้วยความเร็ว
1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยมีท่าทางการเดินที่เหมือนมนุษย์
ระหว่างการเดินจะมีการย่อตัวเล็กน้อย เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้ไม่ล้ม
โดยใช้เทคโนโลยี i-Walk เทคโนโลยีนี้ทำให้อาซิโมสามารถเดินไปข้างหน้า
หรือเลี้ยวได้อย่างต่อเนื่องเร็วและนุ่มนวล
2. การวิ่ง อาซิโมสามารถวิ่งด้วยความเร็วที่มากถึง
9 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทำให้อาซิโมเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์(humanoid)ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก
โดยขณะที่อาซิโมวิ่งจะมีจังหวะที่ขาทั้งสองข้างยกสูงจากพื้นเป็นเวลา 0.08 วินาที
3. การเต้นรำ
4. การขึ้นบันได
5. การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เดินหลบผู้คนที่เดินเข้าหาได้ อาซิโมสามารถตรวจจับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวได้
และคาดการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุได้
ทำให้อาซิโมสามารถเดินหลบคนที่เดินเข้าหาได้ด้วย
6. กระโดดกระต่ายขาเดียวอยู่กับที่หรือไปข้างหน้าได้
7. กระโดดขาคู่สูงจากพื้นก็ทำได้เช่นกัน
8. การแยกแยะเสียงของคู่สนทนาที่มากกว่า 1 คน
9. การจดจำใบหน้าและนำไปยังสถานที่นัดพบ ทำให้อาซิโมเหมาะที่จะเป็นพนักงานต้อนรับเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันฮอนด้าได้ให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น
10. การหยิบจับสิ่งของการถือถาดอาหาร การเสิร์ฟน้ำ
การไหว้และการทักทายจับมือโบกมือ อาซิโมสามารถถือสิ่งของด้วยมือข้างเดียวได้โดยอาซิโมสามารถถือของที่มีน้ำนหักได้ถึง
300 กรัม
หากยกด้วยแขนสองข้างอาซิโมจะสามารถยกของที่หนักได้ถึง 1 กิโลกรัม
11. การเข็นรถเข็น
12. การเตะบอลไปยังเป้าหมาย
13. การตอบโต้ด้วยคำพูดอย่างง่ายได้
และรับฟังคำสั่งรวมถึงทำตามคำสั่งได้
มนุษย์เรานั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
กำลังวังชาสภาพร่างกายก็ถดถอยเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
อายุมากกลับช่วยตัวเองได้น้อยลง บางคนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
ยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบันที่ผู้คนแข่งขันทำงานหาเงิน
ทำให้ขาดเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงวัยในครอบครัว
จนต้องพึ่งบริการศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แต่บุคลากรดูแลด้านนี้ก็อาจจะยังไม่มากพอ
ฉะนั้น หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์จึงเป็นทางเลือกที่นักวิชาการมองว่าจะทำหน้าที่ได้ไม่แพ้มนุษย์
การสร้างโปรแกรมข้อมูลลงไปในหุ่นยนต์ได้พัฒนาไปไกลจนคาดไม่ถึง
ทั้งการรับรู้ทางด้านวัฒนธรรม สามารถทำงานได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย มอบความบันเทิง
เต็มไปด้วยมิตรภาพ และอาจจะช่วยบรรเทาแรงกดดันของคนชราที่อาศัยในศูนย์พักฟื้นผู้สูงอายุรวมทั้งในโรงพยาบาล
|
||||
|
อาซิโม่
หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของญี่ปุ่น
หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของญี่ปุ่นจากบริษัทฮอนด้าถูกพัฒนาให้สามารถรับรู้ท่าทางของมนุษย์และตอบโต้บทสนทนาได้
"อาซิโม"
หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์เชื้อสายญี่ปุ่น ตอบโต้กับผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
มิไรกัน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งชาติ ในเมืองโตเกียว
ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหุ่นยนต์อาซิโมถูกปรับปรุงให้สามารถตีความท่าทางมนุษย์
และร่วมตอบโต้บทสนทนาได้
หุ่นยนต์อาซิโมถูกติดเซ็นเซอร์
6 จุดที่ลำตัว
เพื่อที่จะรับรู้ได้ว่ามีผู้คนอยู่บริเวณใดบ้าง
แต่เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ไม่สามารถฟังเสียงได้
โดยจะตอบโต้หากมีผู้มากดเลือกคำถามบนกระดานสัมผัส
ซึ่งทำให้การสนทนากับเจ้าหุ่นอาซิโมขาดความเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากการตอบโต้กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
ถึงแม้ว่าหุ่นยนต์อาซิโมจะเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนามากที่สุดแล้ว
แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าหุ่นยนต์ตัวนี้ขาดประโยชน์
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของฮอนด้ายอมรับว่าการปรับปรุงหุ่นยนต์ให้สามารถเข้าใจสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปนั้นมีความสำคัญ
ที่จะทำให้หุ่นยนต์ไม่ต้องมีคนคอยบังคับอยู่เบื้องหลัง
ทั้งนี้หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้าถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในปี
2539 โดยต่อมาถูกพัฒนาให้เล็กและมีความคล่องแคล่วมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งจากการสาธิตก่อนหน้านี้ หุ่นยนต์อาซิโม สามารถวิ่ง เตะฟุตบอล
และเปิดกระติกนำร้อนดื่มได้ด้วย
หุ่นยนต์ทางการแพทย์
ตามที่กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้รับมอบ
หุ่นยนต์ จำนวน 1 เครื่อง จากบริษัท อาร์ วี
คอนเน็กซ์
เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการพยาบาลผู้ป่วยในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในด้านความมั่นคง
มิติใหม่ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
และมิติใหม่ของการระดมสรรพกำลัง
ในการนำหุ่นยนต์ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเก็บกู้วัตถุระเบิดของภาคเอกชน มาพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษาดัดแปลงเป็นหุ่นยนต์เพื่อนำไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วย
COVID-19 โดยวัสดุที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ทั้งหมดผลิตภายในประเทศ
พล.อ.ท.เกรียงไกร
โสธรชัย เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ ได้นำบุคลากรทางการแพทย์
เข้ารับการฝึกการใช้งานหุ่นยนต์จากทีมนักวิจัยของบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์
ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของบริษัท
อาร์ วี คอนเน็กซ์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร บนมาตรฐานหุ่นยนต์ใช้งานทางทหาร
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาในประเทศและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ซึ่งด้วยเหตุที่เป็นการพัฒนาเองทำให้สามารถควบคุมองค์ประกอบสำคัญทั้งหมด
ปรับเปลี่ยนได้ทั้ง Hardware และ Software ชิ้นส่วนต่างๆ
ที่สำคัญก็ออกแบบและผลิตในประเทศ
ในกรณีนี้จึงสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประกอบบางส่วนให้ตอบสนองต่อการใช้งานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 เพื่อสนับสนุนการส่งของหรืออาหารในพื้นที่ควบคุม
ลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยหุ่นยนต์สามารถรับน้ำหนักได้มาก
มีรัศมีการควบคุมที่สามารถขยายได้ตามพื้นที่ปฏิบัติงาน
ผู้ควบคุมสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้แบบสองทางผ่านระบบสื่อสารไร้สายได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น