บริษัท คอนเวย์ ดีเทค จำกัด
ระบบสายพานลำเรียง
สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งของการจัดส่งและการผลิต
ซึ่งจำนวนและปริมาณจะมีขนาดเล็กลงเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อน
ผลิตภัณธ์ของเราไม่ได้พัฒนาเพียงแค่ประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพว่าสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้
เรายังมีระบบขนส่งที่ตรงตามความต้องการให้อุปกรณ์กึ่งตัวนำมีขนาดเล็กลงและความต้องการแผ่นกระจกที่ใสบริสุทธิ์
ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ในทุก ๆ กระบวนการและระบบสายพานสำหรับการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่สนามบิน
Daifuku มุ่นมั่นที่จะปรับปรุงโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้นโดยการลดระยะเวลาและต้นทุน
ระบบ AGV (Auto Guiding
Vehicle)
หรือเรียก
กันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และ
นำทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนาม แม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบ ควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน
โดยไมโคร- คอนโทรลเลอร์ ทุกวันนี้รถลำเลียงอัตโนมัติหรือรถ
AGV (Automatic Guide Vehicle) ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก
เนื่องจากรถ AGV สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการขนส่งอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ใช้ในการกระบวนผลิตแบบอัตโนมัติ
โดยที่ไม่ต้องใช้คนในการบังคับการเคลื่อนที่ของรถ ทำให้สามารถประหยัดในเรื่องของแรงงานคนและเวลาได้เป็นอย่างดี
บริษัท เมธากร เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
การขนถ่ายวัสดุ
(Material Handling)
หมายถึง การจัดเตรียมสถานที่และตำแหน่งของวัสดุ
โดยเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา
ซึ่งต้องอาศัยวิธีการในการเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์
เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนย้ายวัตถุดิบเข้ามาในสายการผลิต
ให้เหมาะสมกับลักษณะงานจนเป็นสินค้า หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
วิวัฒนาการอุตสาหกรรมการผลิตได้เจริญรวดเร็วไปอย่างมาก
ในโลกของเทคโนโลยีการนำระบบขนถ่ายวัสดุมาใช้ในระบบการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม
เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเหมือนกัน ซึ่งผู้ประกอบการและวิศวกร
ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต
เพื่อนำมาสนับสนุนกระบวนการผลิตตั้งแต่การนำวัตถุดิบมายังโรงงาน ผ่านกระบวนการผลิต
จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ไปยังคลังสินค้าหรือลูกค้า
ซึ่งจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ หรือการขนย้ายทั้งสิ้น
โดยจะต้องพิจารณาการขนถ่ายวัสดุให้เป็นระบบ และพยายามลดปัญหาการขนถ่ายให้หมดไป
ทำอย่างไรให้การขนถ่ายวัสดุเป็นไปสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การขนถ่ายวัสดุ
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและโรงฝึกงาน
ซึ่งเราจะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการใช้อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ กฎทั่วไปของการขนถ่ายวัสดุ การเลือกชนิดอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุกับตัวแปรในการเลือก
อุปกรณ์พื้นฐานในโรงงานทั่วไป ได้แก่สายพานลำเลียง (Conveyor) ปั่นจั่นและรอก (Cranes and Hoists) รถยก (Industrial
Trucks) เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้
จะทำให้เราสามารถนำไปใช้พิจารณาหาอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่เหมาะสมกับวัสดุที่เราจะขนถ่ายได้ในที่สุด
วิธีการเคลื่อนย้ายวัสดุของโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
ถึงแม้ว่าการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ และสินค้าคงคลังในระหว่างการผลิต
รวมถึงการขนย้ายตัวสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วจะไม่ได้เป็นขั้นตอนการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโดยตรง
แต่การบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายโดยการจัดระบบการขนถ่ายวัสดุที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่แต่ละโรงงานอุตสาหกรรมต้องหาวิธีการที่ดีที่สุด
เพราะเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมมีสินค้า พื้นที่การผลิต พื้นที่เก็บวัสดุ สินค้า
หรือกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน
ฉะนั้นการจัดระบบการขนถ่ายวัสดุจึงแตกต่างกันหรืออาจเหมือนกันได้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ว่าเป็นวิธีไหนที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถบริหารกิจกรรมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้นธุรกิจควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมการขนถ่ายเนื่องจากการดำเนินการขนถ่ายอย่างไร้ประสิทธิภาพอาจก่อให้เกิดปัญหาการขนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็น
ปัญหาสินค้าสูญหาย เสียหาย ปัญหาความพอใจของลูกค้าลดลง ปัญหาความล่าช้าในการผลิต
ปัญหาคนงานและเครื่องจักรถูกปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำงาน
ประโยชน์ในการขนถ่ายวัสดุในโรงงานอุตสาหกรรม
การขนย้ายวัสดุโดยใช้แรงงานคนเคลื่อนย้ายวัสดุ
จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ถือว่าเป็นกิจกรรมการขนย้ายวัสดุที่ลงทุนต่ำ
แต่เสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงงานแทน บางครั้งการขนย้ายก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้
แต่ในการบริการลูกค้าเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์
ให้กับลูกค้าได้ตรงตามที่ต้องการนั้นถือว่าเป็นสิ่งประทับใจ
และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ดังนั้นประโยชน์ของการขนถ่ายวัสดุ
สาวยลดการขนย้ายวัสดุที่ใช้แรงงานคน1.การลดต้นทุน (Cost
Reduction)
- ช่วยลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุ
- ช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง
- ลดแรงงานที่ทำการขนถ่ายโดยตรง
และลดจำนวนพนักงานที่ไม่จำเป็นลงออกบ้าง
2. ช่วยปรับปรุงส่งเสริมการขาย (Sale Promotion)
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งให้กับลูกค้า
- ช่วยให้เกิดการบริการที่สะดวก รวดเร็ว มากขึ้น
- ช่วยในการเพิ่มปริมาณการขาย หรือมีตัวแทนใกล้ตลาดมากที่สุด
3. เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน (Competency)
- สามารถใช้เนื้อที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ปรับปรุงผังโรงงานเพื่อลดระยะทาง
- ทำให้ขนถ่ายวัสดุได้รวดเร็วขึ้น
4. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน (Environment Improvement)
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานง่ายขึ้น
- ปรับปรุงความปลอดภัยของคนงาน วัสดุ
และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและอื่น ๆ
ประเภทของอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุพื้นฐานทั่วไป
อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ได้มีการพัฒนาการออกแบบตามเทคโนโลยีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน ดังนั้นอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุมีหลายประเภท
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุพื้นฐานโดยทั่วไป มีดังนี้
1. สายพานลำเลียง (Belt Conveyor)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงขับจากมอเตอร์ไฟฟ้า
เพื่อให้สายพานเคลื่อนตัวไปอย่างต่อเนื่อง
โดยวัสดุที่ใช้ในการลำเลียงจะวางอยู่บนสายพาน
หรือบนลูกกลิ้งที่ขับหมุนด้วยสายพานเคลื่อนที่
ในการเคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปได้ทั้งแบบต่อเนื่องและหยุดชะงัก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการควบคุมในการขนย้าย ได้ทั้งระยะสั้น ระยะยาว แนวระดับ
แนวลาดเอียงขึ้น และลาดเอียงลง โดยสามารถเลือกปรับระดับความเร็วได้
ดังนั้นระบบสายพานลำเลียง
จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมผลิตอาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น
ส่วนประกอบของสายพานลำเลียง
1. ยางผิวบน (Top Cover) มีหน้าที่รองรับวัสดุขนถ่ายและป้องกันการเสียหายของชั้นผ้าใบรับแรงและยังมีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก
ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันน้ำมัน ป้องกันความร้อน
โดยยางผิวบนมีหลายชนิดให้เลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน
2. ชั้นผ้าใบรับแรง (Carcass) มีหน้าที่เป็นแกนรับแรงดึงของสายพานทั้งเส้น
และช่วยกระจายแรงดึงของสายพาน เมื่อทำการลำเลียงวัสดุอีกด้วย
3. ชั้นยางประสานผ้าใบ (Skim Rubber) มีหน้าที่ประสานชั้นผ้าใบแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน
4. ยางผิวล่าง (Bottom Cover) มีหน้าที่ป้องกันชั้นผ้าใบรับแรงไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับลูกกลิ้ง
(Idler) และพูลเลย์
ดังนั้นความหนาของยางผิวล่างจึงไม่จำเป็นต้องหนาเท่ากับยางผิวบน
เพราะไม่ได้รับภาระหนักเหมือนยางผิวบน
ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยสายพาน
มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้
1.
สายพาน (Belt) เป็นส่วนที่ใช้รองรับวัสดุขนถ่ายจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง
ตัวกลางความหมายก็คือเมื่อสายพานหมุนไปครบรอบแล้วก็จะเวียนมา ทำงานแบบซ้ำ ๆ
ไปเรื่อย ๆ หรือเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางของสายพานจนกว่าจะพังหรือขาดใช้งานไม่ได้
2.
ลูกกลิ้ง (Idlers) เป็นตัวรองรับสายพาน
ลูกกลิ้งมีอยู่ 2 ชนิดคือ ลูกกลิ้งด้านลำเลียงวัสดุ (Carrying
Idlers) และลูกกลิ้งด้านสายพานกลับ (Return Idlers)
3.
ล้อสายพาน (Pulleys) เป็นตัวรองรับ ขับสายพาน และควบคุมแรงดึงในสายพาน
4.
ชุดขับ (Motor or Drive) เป็นตัวส่งกำลังให้กับล้อสายพาน
เพื่อขับสายพานและวัสดุขนถ่ายให้เคลื่อนที่
5.
โครงสร้าง (Structure) เป็นส่วนที่รองรับรักษาแนวของลูกกลิ้ง ล้อสายพาน
และรองรับเครื่องรับสายพาน
ข้อดีของการใช้ระบบสายพานลำเลียง มีดังนี้
1.
แรงกระทำสม่ำเสมอและคงที่
2.
วัสดุเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
3.
เส้นทางไม่ได้เปลี่ยนแปลง
4.
อัตราการเคลื่อนย้ายแน่นอน
5.
สามารถข้ามสิ่งกีดขวางได้
6.
จำเป็นต้องใช้การนับอย่างอัตโนมัติ
การแยกจำพวกการชั่งน้ำหนัก
7.
ต้องมีการเก็บตัวเลขคงคลัง
และการตรวจสอบเพื่อควบคุมการผลิต
8.
ต้องการควบคุมการไหล
9.
ขนถ่ายวัสดุที่มีการเสี่ยงต่ออันตราย
10.
ขนถ่ายวัสดุที่มีอุณหภูมิสูง
และใช้ในพื้นที่ที่อันตราย
ประเภทของสายพานลำเลียง
(Rubber Conveyor Belt)
1. แบ่งตามประเภทของผิว (Cover Rubber) ของสายพานลำเลียง
(Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภท
1.1 ประเภทใช้งานทั่วไป (General Use Conveyor Belt) หรือเรียกว่า
สายพานทนสึก (Wear Resistance Conveyor Belt)
1.2 ประเภทใช้งานแบบพิเศษ (Special Conveyor Belt) มีหลายแบบ
เช่น สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) สายพานทนน้ำมัน/ไขมัน/จาระบี
(Oil Fat/Grease Resistant Conveyor Belt) สายพานทนเปลวไฟ (Flame
Resistant Belt) สายพานทนความเย็น (Cold Resistant Belt) สายพานทนสารเคมี (Chemical Resistant Conveyor Belt) สายพานมีคุณสมบัติป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิต และสายพานสำหรับลำเลียงอาหาร (Food
Grade)
2. แบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภท
2.1 สายพานผ้าใบ (Fabric Conveyor Belt) วัสดุที่ใช้รับแรง
(Tension Member) ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ กันไป เรียกรวม ๆ
กันว่าผ้าใบ เช่น Cotton Nylon EP (Polyester/Nylon หรือเรียกว่า
PN และ Kevlar (Aramid) และ Fiberglas
2.2 สายพานลวดสลิง (Steel Cord Conveyor Belt) คือสายพานที่มีวัสดุรับแรง
เป็นเส้นลวด (Steel Cord)
3. แบ่งตามประเภทของลักษณะของผิวหน้า (Rubber Cover Surface) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้หลายชนิดแต่ที่นิยมใช้กันมี
3 ประเภท
3.1 แบบผิวหน้าเรียบ (Plain Surface) ใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงเล็กน้อยใช้ในงานทั่ว
ๆ ไป ในประเทศไทยเราน่าจะใช้สายพานแบบนี้มากกว่าร้อยละ 80
3.2 แบบผิวหน้าก้างปลา (Pattern Surface) มีหลายลักษณะ (Pattern)
เรียกว่าก้างปลา จะมีสัน (Cleat) บนตัวสาย
พานใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงได้ดีกว่าแบบผิวเรียบ แต่ราคาก็แพง
ก่อนซื้อต้องรู้ว่าวัสดุที่ลำเลียงสามารถขึ้นได้สูงกี่องศา
ถ้ามุมเอียงของระบบสายพาน (Conveyor System) มีมากว่ามุมกองของวัสดุ
ๆ อาจจะไหลกลับเดี๋ยวเสียเงินฟรี ๆ
3.3 แบบผิวหน้าพิเศษหรือมีโครงสร้างแบบพิเศษ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น Sidewall
Belt และ Pipe Conveyor Belt เรื่องนี้เป็นเรื่องพิเศษหัวข้อนี้เราจะไม่ลงลึกในเนื้อหาแต่หากท่านใดอยากรู้หรือมีการใช้งานที่แปลก
ๆ จะใช้สายพานประเภทไหนดีถึงจะเหมาะหลาย ๆ ประเภทไม่มีการผลิตในประเทศไทย
2. ลูกกลิ้งลำเลียง (Roller Conveyor)